สไลด์โชว์

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคอ้วน

โรคอ้วน หมายถึงสภาวะร่างกายที่มีไขมันสะสมไว้ตามอวัยวะต่างๆ มากจนเกินไป

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอ้วน

  • กรรมพันธุ์ - ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่อ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 40 แต่ไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ ไม่ใช่ว่าคุณจะสิ้นโอกาสผอมหรือหุ่นดี
  • นิสัยจากการรับประทานอาหาร - คนที่มีนิสัยไม่ดีในการรับประทานอาหาร หรือที่เรียกกันว่า กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนขึ้นได้
  • การไม่ออกกำลังกาย
- ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดี แต่มีการออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้ยืดเวลาความอ้วน แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดีแล้วนั่งๆ นอนๆ โดยไร้ซึ่งการยืดเส้นยืดสาย ในไม่ช้าก็จะเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย
  • อารมณ์และจิตใจ - มีบางคนที่รับประทานอาหารตามอารมณ์และจิตใจ เช่น กินอาหารเพื่อดับความโกรธแค้น กลุ้มใจ กังวลใจ บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้ใจสงบ จึงยึดอาหารไว้เป็นสิ่งที่สร้างความสบายใจ - แต่ในทางกลับกัน บางคนที่รู้สึกเสียใจ กลุ้มใจ ก็กินอาหารไม่ได้ ถ้าในระยะเวลานานๆ ก็มีผลทำให้เกิดการขาดอาหาร ฯลฯ
  • ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว ความอยากอาหาร - เมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้น "กินจุ" ในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน
  • เพศ - ผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และหลังคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้
  • อายุ - เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลง
  • กระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย
  • ยา - ผู้ป่วยบางโรคนั้น จะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน



โรคที่พบบ่อยในคนอ้วนมาก
  • ไขมันในเลือดสูงทำใหอ้วน
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคข้อกระดูกเสื่อม
  • โรคทางระบบทางเดินหายใจ
  • โรคมะเร็งบางประเภท
วิธีการลดความอ้วนวิธีการลดความอ้วน
  • ควบคุมอาหารการลดความอ้วน
  • ออกกำลังกาย
  • ปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม
  • ลดความอ้วน แนวทางพึงปฏิบัติ
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเอื้อต่อการลดความอ้วน
ที่มา:http://www.thairunning.com/obesity.htm

    โรคมะเร็ง


    มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

    การป้องกันโรคมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
    โรคมะเร็งเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งมีมลภาวะจากการพัฒนาประเทศ และประชาชนขาดความเอาใจใส่ต่อสุขภาพตนเอง ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่เลือก เหล่าเป็นสาเหตุให้มะเร็งเพิ่มขึ้น
    โรคมะเร็งเป็นโรคที่ป้องกันได้ และสามารถรักษาให้หายขาดได้หากสามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มเป็น เนื้อหาที่นำเสนอจะเป็นแนวทางการตรวจและวินิจฉัย พร้อมทั้งแผนการรักษา ท่านผู้อ่านควรทำความเข้าใจ และนำความรู้ที่ได้ปรึกษาแพทย์ของท่านเกี่ยวกับวิธีรักษาของมะเร็งแต่ละชนิด
    โรคมะเร็งคืออะไร
    ร่างกายเราประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ อวัยวะจะประกอบด้วยเซลล์ กลุ่มของเซลล์ที่มีรูปร่างและทำหน้าที่เหมือนกันรวมตัวกันจะเป็นอวัยวะ หลายอวัยวะมาทำงานร่วมกันเป็นระบบ หลายๆระบบทำงานร่วมกันเป็นร่างกายของคนเรา เซลล์ต่างๆจะมีอายุเมื่อตายก็จะมีเซลล์ใหม่เจริญทดแทนเซลล์เก่า
    เซลล์ที่สร้างใหม่ไม่หยุดเราเรียกเนื้องอกซึ่งแบ่งเป็น เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงหรือทางการแพทย์เรียก Benign tumor ส่วนมะเร็งที่แพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆเรียกมะเร็ง








    ชนิดของมะเร็ง
    ชนิดของมะเร็งจะแบ่งตามชนิดของเซลล์ที่เป็นต้นกำเนิด เช่น
    • carcinomas เซลล์ต้นกำเนิดเกิดเซลล์บุผิว (epithelium)มะเร็งชนิดนี้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดประมาณร้อยละ 85
    • Sarcomas เป็นมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อผูกพัน(connective tissue) เช่นกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน
    • leukemia/lymphoma เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือด
    • มะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งสมอง
    คนเราเป็นโรคมะเร็งชนิดไหนมาก
    ผู้ชายเราพบมะเร็ง
    • มะเร็งปอด 19%
    • มะเร็งต่อมลูกหมาก 17 %
    • มะเร็งลำไส้ใหญ่ 14 %
    • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 7 %
    ผู้หญิง
    • มะเร็งเต้านม 29%
    • มะเร็งลำไส้ใหญ่ 12%
    • มะเร็งปอด 11%
    • มะเร็งรังไข่ 5%
    การรักษาโรคมะเร็ง
    การเฝ้าติดตาม
    เมื่อบอกว่าเป็นมะเร็งคนทั่วไปมักจะคิดว่าต้องผ่าตัด หรือให้เคมีบำบัด แต่มีมะเร็งบางประเภทที่ไม่แพร่กระจาย และเจริญเติบโตช้ามาก การรักาาจึงเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของมะเร็ง
    การผ่าตัด
    การผ่าตัดจะผ่าเอาเนื้องอกออกจากร่างกาย นอกจากนั้นบางรายอาจจะต้องผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งที่แพร่กระจายออกให้หมด อ่านที่นี่
    การฉายแสง
    คือการใช้รังสีรักษาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งแต่มีผลกับเซลล์ปกติน้อย อาการข้างเคียงคืออาการอ่อนเพลียไม่มีแรง
    เคมีบำบัด
    คือการให้สารเคมีหรือยาที่ทำลายเซลล์มะเร็งมีทั้งยาเม็ด ยาน้ำ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นยาฉีด มะเร็งบางชนิดให้ยาเพียงชนิดเดียวแต่ว่วนใหญ่จะยาสองชนิดขึ้นไป
    การให้ฮอร์โมน
    มะเร็งบางชนิดจะแบ่งตัวเมื่อมีฮอร์โมน การให้ยาเพื่อเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนทำให้เซลล์หยุดการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่จะใช้รักษามะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
    การรักษาอื่นๆ
    เช่นการให้ภูมิเพื่อทำลายเซลล์เช่น interferon เป็นต้น



    การเจาะเลือดเพื่อตรวจมะเร็ง
    การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรคมะเร็งหรือที่เรียกว่า Tumor marker เป็นสารซึ่งอาจจะเจอในเลือด ปัสสาวะ เนื้อเยื่อต่างๆ มากกว่าปกติสารเหล่านี้ถูกสร้างโดยเนื้อมะเร็ง หรือปฏิกิริยาของร่างกายต่อมะเร็ง และจากเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง



    มะเร็งเต้านม
    คุณผู้หญิงควรจะอ่านทุกคนครับ ท่านจะได้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยง แนวทางการค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น รวมทั้งวิธีการผ่าตัดและวิธีการรักษาอย่างอื่น และโรคแทรกซ้อนของการรักษาแต่ละวิธี

    มะเร็งลำไส้ใหญ
    พบมาก สามารถรักษาให้หายขาดถ้าวินิจฉัยได้เร็ว ท่านจะทราบปัจจัยเสี่ยง การตรวจวินิจฉัย และการรักษา

    มะเร็งปากมดลูก
    1
    เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยสำหรับผู้หญิง หากพบเร็วรักษาหายขาดหากพบช้าอาจจะทำให้เสียชีวิต คุณผู้หญิงควรจะอ่านทุกคนครับ

    มะเร็งปอด
    อัตราการตายสูงมาก พบมากในผู้ชาย รักษาหายขาดถ้าวินิจฉัยได้เร็ว

    มะเร็งตับ
    ท่านที่ดื่มสุรา ท่านที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังท่านเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ ท่านจะได้ทราบว่ามะเร็งตับมีหลายชนิด รวมทั้งอาการและการวินิจฉัย



    มะเร็งเม็ดเลือดขาว
    เป็นมะเร็งที่พบไม่บ่อย ปัจจุบันสามารถรักษาให้หายขาด หากรักษาเร็วมีภาพเซลล์มะเร็งให้ดูครับ พร้อมทั้งอาการและวิธีการรักษา



    มะเร็งไฝ
    พบไม่บ่อย แพร่กระจายเร็ว ท่านจะทราบว่าไฝปกติและมะเร็งไฝแตกต่างกันอย่างไร น่าสนใจครับ



    มะเร็งต่อมลูกหมาก
    มะเร็งที่พบในผู้ชายโดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักจะมีอาการปัสสาวะลำบากต้องเบ่ง การตรวจวินิจฉัยไม่ยาก



    ปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็ง
    เกิดจากสารเคมี การติดเชื้อ สุรา อาหาร ควรอ่านทุกคนครับเพื่อสุขภาพที่ดีของท่านและครอบครัว



    อาหารต้านมะเร็ง
    โรคมะเร็งนอกจากจะเป็นกรรมพันธุ์ การดำเนินชีวิตที่ไม่ระวังอาจจะชักนำท่านไปสู่โรคมะเร็ง โดยเฉพาะเรื่องอาหาร รับประทานอาหารอย่างไร ปรุงอาหารอย่างไรจึงจะห่างไกลมะเร็ง



    มะเร็งผิวหนัง
    พบบ่อยเป็นอันดับที่สอง เกิดจากแสงแดด โดยเฉพาะผู้ที่เคยถูกแดดเผามาก่อน แพร่กระจายช้า โดยมากมักจะหายขาดพบได้บ่อยมีสามชนิดคือ basalcell carcinoma Squamous cell carcunoma Malignant melanoma

    มะเร็งต่อมธัยรอยด์
    1มะเร็งต่อมธัยรอยด์พบได้ทุกวัย มาด้วยเรื่องก้อนที่คอ ไม่เจ็บปวด ก้อนโตช้า การรักษามักจะได้ผลดี อ่านที่นี่

    มะเร็งรังไข่์
    มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบมากอันดับห้าของมะเร็งในผู้หญิง และอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสี่ อ่านที่นี่


    ที่มา:http://www.siamhealth.net/public_html/index0/ca_main.htm

    โรคหัวใจ

    ชั่วโมงการทำงานที่อัดแน่นด้วยความเครียด และการกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและเกลือ กำลังคุกคามสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน อีกไม่นาน... การใช้ชีวิตสมัยใหม่แบบนี้ อาจทำให้ โรคหัวใจ ระบาดทั่วเมือง... 
              หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน –ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ" แต่ถ้าวันหนึ่ง... หัวใจเราเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไร...?


    โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน... 
     คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้
               1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ

               2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ

               3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

               4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน

               5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้

               6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
    โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย... 
    นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...


      เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว
                  
               2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง



    ที่มา:http://health.kapook.com/view28.html