สไลด์โชว์

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

โรคร้ายใกล้ตัวของผู้หญิงยุคใหม่

โรคช๊อกโกแลตซีส “โรคของผู้หญิงยุคใหม่”ผู้หญิงหลายท่านอาจเกิดอาการปวดท้องเวลาเป็นประจำเดือน เพราะProstaglandin ที่หลั่งออกมาในช่วงเป็นรอบเดือน นอกจากปวดท้องแล้วก็อาจจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนProstaglandin : สารชนิดหนึ่งในร่างกายซึ่งคล้ายฮอร์โมน คือ ต้นเหตุที่ทำให้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน และ เป็นสารชนิดที่ทำให้ผู้หญิงเราเกิดอาการปวดท้องตอนจะคลอดลูก... สารนี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว เพื่อช่วยให้ร่างกายขับประจำเดือนออกมา..... บางท่านอาจเริ่มวิตกกังวลถึงโรคภัยที่ผู้หญิงมักจะกลัว ไม่ว่าจะเป็น เนื้องอก มะเร็ง ผังผืด ที่อาจพบในระบบสืนพันธุ์

โรคช๊อกโกแลตซีส (Chocolate cyst : one having dark, syrupy contents, resulting from collection of hemosiderin following local)
  1. คำจำกัดความของโรคช๊อกโกแลตซีส ช๊อกโกแลตซีส หมายถึง ''ถุงน้ำที่มีสารของเหลวสีคล้ายกับช๊อกโกแลตอยู่ภายใน'' ความรุนแรงมากพอสมควร การเรียกตามลักษณะที่เห็นความจริงแล้ว คำเต็มก็คือ..... ''โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ เอ็นโดเมทริโอซิส ''ปกติตัวเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก ควรจะอยู่เฉพาะภายในโพรงมดลูกเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ตัวเยื่อบุโพรงมดลูกนี้กระจายออกนอกตัวโพรงมดลูกไปเกาะอยู่ที่ใดก็ตามก็จะเป็นโรคของตำแหน่งนั้นเกิดขึ้น
  2. ในปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มากน้อยแค่ไหน โรคนี้พบได้บ่อยขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย เราจะพบมากที่สุดก็คือ พบได้ 10- 20% ในกลุ่มของผู้ที่อยู่ในวัยที่มีประจำเดือน กลุ่มคนลูกยากจะเป็น 30-45% คำว่าผู้ป่วยที่มีลูกยากก็คือ คู่สมรสที่แต่งงานเกิน 1 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เอง
  3. กลไกที่ก่อให้เกิดโรค ---ปัจจุบันนี้เรายังไม่ทราบกลไกที่ทำให้เกิดโรคที่แท้จริง แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อถือคือ ทฤษฎีของแซมซัน จะมีเลือดประจำเดือนส่วนน้อยส่วนหนึ่งไหลกลับเข้าไปในช่องท้อง โดยผ่านท่อรังนำไข่ เลือดประจำเดือนที่ไหลเข้าสู่ช่องท้องก็จะนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกไปด้วย แต่ตำแหน่งของเซลล์นี้ถ้าไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนก็จะทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นในอวัยวะนั้น ส่วนมากเราจะพบมากในบริเวณรังไข่
  4. นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคอีกหรือไม่ ผู้หญิงปกติทุกคนจะมีการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือน แต่บางคนเป็นโรค, บางคนไม่เป็นโรคขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยง คือ
    · มีประวัติครอบครัว โดยเฉพาะทางมารดาหรือว่าพี่สาว, น้องสาวของผู้ป่วย ถ้าเกิดเป็นโรคนี้ตัวผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็นโรคที่สูงขึ้นมากกว่าคนทั่วไป 3-10 เท่า
    · กลุ่มผู้ป่วยที่มีการทำงานของรังไข่นาน ๆ รังไข่ทำงานนานในกรณีที่เริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยหรือประจำเดือนรอบสั้น เดือนหนึ่งมีมากกว่า 2 ครั้ง หรือออกมากหรือออกนานมากกว่า 7 วัน
    · กลุ่มที่มีความผิดปกติโดยกำเนิด ของทางออกของประจำเดือน กรณีนี้เราจะเจอได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเยื่อพรหมจารีปิด
  5. ปัจจัยลดความเสี่ยงของโรคอยู่ 3 ปัจจัย คือ
    · การตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์หลายครั้งโอกาสเป็นโรคก็จะน้อยลง การตั้งครรภ์ผู้หญิงจะไม่มีภาวะของการมีประจำเดือนไปเป็นเวลา 9-10 เดือน หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ซึ่งยาคุมกำเนิดจะมีฮอร์โมนที่มีชื่อว่า โปเตสเซอโรน
    · การออกกำลังกายมาก ๆ โดยเฉพาะการออกกำลังตั้งแต่วัยรุ่นจะต้องออกกำลังกายมากกว่าสัปดาห์ละ 7 ชม. อันนี้จะเป็นการลดฮอร์โมนเอสโตเจน เป็นผลทำให้เกิดโรคน้อยลง
    · การสูบบุหรี่ จะทำให้เกิดเอสโตนเจนน้อยลง โอกาสการเกิดโรคก็จะน้อยลง แต่ที่กล่าวมาก็ไม่ ได้หมายความว่าจะสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนต้องสูบบุหรี่
  6. ลักษณะอาการผิดปกติเบื้องต้นเป็นอย่างไร
    · คนไข้จะมีอาการปวดประจำเดือนทุกเดือน แต่อาการปวดประจำเดือนก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคนี้ ซึ่งลักษณะอาการปวด คือ มีอาการปวดอย่างรุนแรงและจะปวดมากขึ้นมากขึ้นทุกเดือน เป็นอย่างนี้มากขึ้นไปเรื่อย
    · มีอาการเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
    · ผู้ป่วยจะมีบุตรยาก
  7. เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ อาศัยจากประวัติก่อนทำการตรวจร่างกายคนไข้ และจะมีการช่วยวินิจฉัยหลายอย่าง เช่น ....การทำอัลตราซาวด์ ส่องกล้อง ตรวจภายในอุ้งเชิงกราน การเจาะเลือดตรวจทูเมอร์ .... การวินิจฉัยโรค ถ้าเกินเราอัลตราซาวด์แล้วเราเห็นก้อนชัด ๆ ก็จะสามารถบอกได้ทันที แต่ในกลุ่มที่คนไข้ที่มีผลการตรวจคนไข้ไม่ชัดเจน กลุ่มนี้เรามักจะต้องใช้วิธีส่องกล้องตรวจภายในอุ้งเชิงกราน
  8. วิธีการรักษาในปัจจุบันมีหลายแบบ
    · การใช้ยา
    · การผ่าตัด
    · ใช้ยาร่วมกับการผ่าตัด
    จะคำนึงถึงอาการของผู้ป่วย ความต้องการในการมีลูกและความรุนแรงของอาการ การใช้ยารักษา มีอยู่ 2 กลุ่ม ....แพทย์จะต้องให้คนไข้อยู่ในภาวะไม่มีประจำเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือนเข้าไปในช่องท้อง เป็นยาที่ทำให้คนไข้หมดประจำเดือน ---เหมือนคนในวัยทอง ---หรือเหมือนหญิงตั้งครรภ์
    ส่วนการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ตัวโรครุนแรง ชนิดที่ 1 การผ่าตัดออกหมด ผลการผ่าตัดทำให้คนไข้หายจากโรค แต่คนไข้ก็จะไม่สามารถมีบุตรได้อีก ชนิดที่ 2 ก็คือ การผ่าตัดเพื่อเอาตำแหน่งของพยาธิสภาพออก ข้อดีของการผ่าตัดนี้ก็คือ ผู้ป่วยสามารถมีบุตรได้อีก แต่ข้อเสียก็คือ ตัวโรคสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก
  9. ผลจากการใช้ยาที่ทำให้คนไข้หมดประจำเดือน จะมีผลแทรกซ้อนอย่างไรเกิดขึ้นบ้าง หลักการจะทำให้คนไข้ไม่มีประจำเดือนประมาณ 6-9 เดือน จริง ๆ เป็นระยะที่สั้น ถ้าใช้ยาทำให้ไม่มีประจำเดือนเหมือนวัยทอง ...จะมีอาการหงุดหงิด ชาปลายมือ ปลายเท้า
  10. จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีกหรือไม่ --- ในกรณีที่เราผ่าตัดเอาเฉพาะพยาธิสภาพออก โดยที่เก็บตัวมดลูกและรังไข่ไว้คนไข้ ก็จะมีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีก
  11. อันตรายของโรคนี้มากน้อยแค่ไหน ในกรณีที่เป็นมาก ๆ คนไข้ก็จะมีพังพืดเกิดขึ้นในอุ้งเชิงกราน ผังพืดที่เกิดขึ้นมีการรัดอวัยวะที่สำคัญหลายอย่าง เพราะฉะนั้นการผ่าตัดจำเป็นต้องอาศัยฝีมือขอศัลยแพทย์ที่ดี พอประจำเดือนมาครั้งต่อไป ตัวโรคก็จะโตขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างนั้นหากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ก้อนช๊อกโกแลตซีสเกิดแตก สารของเหลวที่อยู่ภายในก็จะออกมากระตุ้นเยื่อบุช่องท้อง ทำให้คนไข้มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน
  12. การป้องกันควรทำอย่างไร
    · เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือน ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการตรวจภายใน หรือ มีเพศสัมพันธ์ขณะที่มีประจำเดือน
    · ในหญิงกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ เราอาจพิจารณณาให้การป้องกันด้วยการกินยาคุมกำเนิด เริ่มตั้งแต่วัยเริ่มมีประจำเดือนและหยุดยาต่อเมื่อมีบุตร
    · ขอแนะนำให้ผู้หญิงที่แต่งงาน ตั้งครรภ์เร็ว ๆ
  13. ข้อแนะนำท่านที่มีอาการผิดปกติดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีบุตรยาก ถ้าเกิดไม่แน่ใจในอาการควรจะได้รับการปรึกษาและการตรวจจากแพทย์โดยเร็ว

คำถาม ?
  1. ทำไมหญิงยุคใหม่เป็นโรคนี้กันมากขึ้น ?
    "ถ้าดูในเรื่องงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตผิดที่พบว่า ถ้านำผู้หญิง 100 คนมาทำการส่องกล้องเข้าไปดูในขณะที่มีประจำเดือน ผู้หญิงเกือบทั้ง 100 คน จะมีภาวะลือดระดูไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องท้องทุกคน"
  2. ทำไมบางคนเกิดอาการเป็นถุงน้ำซึ่งทำให้ เกิดความเจ็บปวดมากมาย แต่บางคนไม่เป็น ?
    คนไข้กลุ่มที่เป็นถุงน้ำมักจะมีปัญหาในเรื่องภูมิคุ้มกันบางอย่างบกพร่องซึ่งไม่สามารถจะทำลายเยื่อบุโพรงมดลูกที่เติบโตผิดที่นี้ได้ ในขณะที่ผู้หญิงปกติทั่วไปจะมีภูมิคุ้มกันซึ่งสามารถทำลายเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญเติบโตผิดที่ได้ "ส่วนที่ดูเหมือนกับว่าผู้หญิงในปัจจุบันเป็นโรคนี้กันมาก ก็เพราะความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยี
  3. อาการที่น่าสงสัยว่า จะเป็นถุงน้ำช็อกโกแลตเกี่ยวกับเรื่องเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่
    ผู้หญิงที่เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ จะมีอาการปวดท้องมากเวลาที่มีประจำเดือน "การที่จะแยกว่าอาการปวดท้องเมื่อมีประจำเดือนจะเป็นอาการที่บ่งบอกว่าสิ่งแรกท ี่ต้องคำนึงถึงคือ เรื่องอายุ นั่นคือถ้าอายุยังไม่มาก แล้วปวดท้องเวลาที่มีประจำเดือน ส่วนใหญ่จะเป็นอาการปวดท้องธรรมดา แต่กรณีที่ไม่เคยปวดประจำเดือนมาก่อน พออายุ 30 ปีขึ้นไปอยู่ๆ ก็มีอาการปวดประจำเดือนขึ้นมา และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือนที่ผ่านไป อาการดังกล่าวค่อนข้างบ่งชี้ว่าน่าจะเป็น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่"
  4. ถุงน้ำช็อกโกแลตเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ? ผู้หญิงหลายคนที่เป็นโรคถุงน้ำช็อกโกแลตได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาถุงน้ำออกและหลายๆกรณีแพทย์บางคนผ่าตัดเอามดลูกและรังไข่ออกไปด้วยในคราวเดียวกันด้วย 
มะเร็งคืออะไร
มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
เท่าที่มีรายงานไว้ใน ขณะนี้ มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการ ดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของ โรค ที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
ดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสม ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ การดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น
 
 
• --------------------------------------------------------------- •
อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็ง
1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย
2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือน ว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุดของอาการในกลุ่ม นี้ ได้แก่ 
อาการเจ็บปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน
สัญญาณอันตราย 8 ประการที่ทุกคนควรจะจำไว้เพื่อสุขภาพที่ดี ได้แก่ 

1.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล

 
 
• --------------------------------------------------------------- •
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
 
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ
1. เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็ง ส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่
 
1.1 สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon) สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine) สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
1.2 รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา
1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น
 
2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น เด็กที่มีความพิการ มาแต่ กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่องและภาวะ ทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น จะเห็นว่า มะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มะเร็งก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถ ป้องกัน ได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987) ถ้าประชาชนมี ความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณ ที่มีควันบุหรี่ เป็นต้น สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผลแต่ทำให้ ทราบว่า ตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งสูงหรือมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ดังนั้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป กรณีที่เป็น มะเร็ง ได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี

 
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ที่สำคัญ มี 2 ข้อ
ข้อแรก คือ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อน ในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เป็นต้น รวมทั้งการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด
ข้อที่สอง คือ ได้แก่ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น
 


ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง มีดังนี้
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของระบบหายใจ ได้แก่ ปอด และกล่องเสียง เป็นต้น
2. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ถ้าทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากและในลำคอด้วย
3. ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มี สารพิษ ชื่อ อัลฟาทอกซิล ที่พบจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารเช่น ถั่วลิสงป่น เป็นต้น หากรับประทานประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และหากได้รับทั้ง 2 อย่าง โอกาส จะเป็นมะเร็งตับมากขึ้น
4. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ เยื่อบุมดลูก และต่อมลูกหมาก
5. ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิวเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือติดเชื้อไวรัสเอดส์ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด เป็นต้น
7. ผู้ที่รับประทานอาหารเค็มจัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิวและส่วนไหม้เกรียม ของอาหารเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่
8. ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว อาทิ มะเร็งของจอตา มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่เป็นติ่งเนื้อ เป็นต้น
9. ผู้ที่ตากแดดจัดเป็นประจำจะได้รับอันตรายจากแสงแดดที่มีปริมาณของแสงอุลตรา ไวโอเลต จำนวนมาก มีผลทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้

 
 
• --------------------------------------------------------------- •
มะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย
เพศหญิง
เพศชาย
1.
มะเร็งปากมดลูก
1.
มะเร็งตับ
2.
มะเร็งเต้านม
2.
มะเร็งปอด
 
 
• --------------------------------------------------------------- •
ข้อพึงปฏิบัติ 12 ประการเพื่อการป้องกันและลดการเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมะเร็ง


5 ประการเพื่อการป้องกัน

1. รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอคโคลี่ ฯลฯเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนปลาย กระเพาะอาหาร และอวัยวะระบบทางเดินหายใจ
2.รับประทานอาหารที่มีกากมากเช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่นๆเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
3.รับประทานอาหารที่มีเบต้า- แคโรทีน และ ไวตามินเอ สูงเช่น ผัก ผลไม้ สีเขียว-เหลืองเพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กล่องเสียง และปอด
4. รับประทานอาหารที่มีไวตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆเพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร
5. ควบคุมน้ำหนักตัวโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมดลูก ถุงน้ำดี เต้านม และลำไส้ใหญ่ การออก กำลังกายและการลดรับประทานอาหารที่ให้ พลังงานสูง จะช่วยป้องกันมะเร็ง เหล่านี้ได้

7 ประการเพื่อลดการเสี่ยง

1.ไม่รับประทานอาหารที่มีราขึ้นอาหารที่มีราขึ้นโดยเฉพาะสีเขียว-เหลือง จะมีสารอัลฟาทอกซินปนเปื้อนซึ่งอาจเป็น สาเหตุของโรคมะเร็งตับ
2. ลดอาหารไขมันอาหารไขมันสูงจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่และต่อมลูกหมาก
3.ลดอาหารดองเค็ม อาหารปิ้ง-ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนเตรท- ไนไตร์ทอาหารเหล่านี้ จะทำให้เสี่ยงต่อ มะเร็ง หลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่
4.ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบ ๆ เช่น ก้อยปลา ปลาจ่อม ฯลฯจะทำให้เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ และเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็งของท่อน้ำดีในตับ
5.หยุดหรือลดการสูบบุหรี่การสูบบุหรี่ จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งปอด กล่องเสียง ฯลฯ การเคี้ยว ยาสูบจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก และช่องคอ
6.ลดการดื่มแอลกอฮอล์ดื่มแอลกอฮอล์ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ตับ ถ้าทั้งดื่มและสูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็งช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง และหลอดอาหาร
7. อย่าตากแดดตากแดดจัดมากเกินไป จะเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งผิวหนัง
 
• --------------------------------------------------------------- •

ที่มา : http://www.nci.go.th/Knowledge/index_general.html

รู้จักไตวาย ก่อนจะสายไป


แต่โอกาสที่แต่ละคน จะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องรอไตจากผู้เสียชีวิต อันเนื่องมาจากสมองตายเท่านั้น และต้องรีบผ่าตัดภายในเวลาจำกัด ก่อนที่เซลล์ต่างๆ ของไตจะตายไป นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการขโมยไต

อาการแรกเริ่มไตวายเรื้อรัง 

ไตเป็นอวัยวะที่มีขนาดกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของ รูปร่างคล้ายถั่วแดงอยู่ด้านหลังทั้ง 2 ข้างของลำตัว ในแนวระดับของกระดูกซี่โครงล่าง หรือเหนือระดับสะดือ มีหน้าที่ ขับถ่ายของเสีย อันเกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน, ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ และควบคุมการทำงานของฮอร์โมน ดังนั้นหากไตมีความบกพร่อง หน้าที่การขจัดของเสีย และดูแลความสมดุลก็จะบกพร่องไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยบางรายจะมีอาการบ่งชี้ แต่บางรายกว่าจะแสดงอาการก็อยู่ในระยะรุนแรงแล้ว
โรคไตมีอยู่ 8 ชนิด แต่ที่รุนแรงก็คือไตวายเรื้อรัง โดยอาการแรกที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ซึ่งขณะนั้นผู้ป่วยยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นไตวาย คือ อาการอ่อนเพลีย ซึมๆ มึนงง นอนไม่หลับ คันตามร่างกาย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ความรู้สึกรับรสของลิ้นเปลี่ยนไป น้ำหนักลด ชาปลายมือปลายเท้า รู้สึกหนาวง่าย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณเท้า ปวดศีรษะ เป็นต้น
แต่อาการเหล่านี้ยังไม่ใช่อาการเฉพาะของโรคไตเพราะอาจพบในโรคอื่นๆ ได้
อาการเตือนที่สำคัญ 6 อย่างที่ทำให้นึกถึงโรคไตคือ
 
การเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่นปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะออกน้อยลง
 
มีอาการแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะสะดุดหรือมีเศษนิ่วปนออกมา
 
ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อหรือปัสสาวะเป็นฟอง
 
การบวมของใบหน้า เท้า และท้อง
 
อาการปวดเอวหรือหลังด้านข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวหรือไม่อยู่กลางหลัง)
 
ความดันโลหิตสูง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มีบางคนที่เป็นไตวาย แต่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ จึงต้องอาศัยการตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม โรคไตวายเรื้อรัง มักเป็นผลแทรกซ้อนจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ จากการศึกษาพบว่ากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูงและเบาหวาน นอกจากนี้ยังพบสาเหตุอื่นๆ อีก คือ เกาต์ เอสแอลอี ภาวะหัวใจวาย กรวยไตอักเสบเรื้อรัง รวมถึงการแพ้ยา
ควบคุมอาหารก่อนไตเสื่อมสภาพ
ในผู้ป่วยไตวายที่ยังสูญเสียสภาพไตไม่มาก จะต้องพยายามชะลอการเสื่อมของไตให้มากที่สุด ดังนี้
1.จำกัดอาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่ อาหารที่รสเค็ม ทั้งเกลือ น้ำปลา ซอส หรือพวกดองเค็ม ดองเปรี้ยว หรือที่มีรสหวานจัด และจำกัดอาหารที่มีโปรตีนและโปแตสเซียม ได้แก่ พวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ นม พวกผัก หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่ว ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่นลูกเกด ลูกพรุน และกากน้ำตาล ช็อคโกแล็ต มะพร้าวขูด (คำว่าจำกัดหมายถึงให้กินแต่น้อย ประมาณ 20-25 กรัมต่อวัน) 
2.รักษาด้วยยา เช่น ยาลดความดัน ยาจับฟอสฟอรัส หรือยารักษาความเป็นกรดในเลือด เป็นต้น
3.ไม่ทำงานหนัก หรือเล่นกีฬาหักโหม อาบน้ำทุกวันโดยใช้สบู่อ่อน ทาผิวหนังด้วยน้ำมันหรือครีม
 เพื่อลดอาการผิวแห้งและคัน ตัดเล็บให้สั้น ทำความสะอาดปากและฟันบ่อยๆ เพื่อลดการติดเชื้อ


หากผู้ป่วยมีอาการถึงระยะสุดท้ายจะต้องล้างไต โดยการฟอกเลือดจากเครื่องไตเทียม
หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต
กันดีกว่าแก้
การบริโภคอาหารตามแนวทางชีวจิต ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้เราห่างไกลโรคร้ายนี้ได้ รวมทั้งยังได้ความอร่อย และทำให้ภูมิชีวิตเราทำงานได้ดีขึ้นด้วย
การทานอาหารชีวจิตง่ายๆ ก็คือ ไม่กินแป้งที่ขัดขาว งดเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก ได้แก่ เนื้อ หมู ไก่ แล้วหันมาทานโปรตีนที่ได้จากพืช และทานผลไม้เป็นอาหารยามว่าง แทนที่จะเป็นขนมกรุบกรอบทั่วไป นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้ คือ หมั่นออกกำลังกายและทำจิตใจให้สงบ แจ่มใส สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรจะตรวจปัสสาวะทุกปี เพื่อดูการทำงานของไตว่าปกติอยู่หรือไม่
ที่มา www.cheewajit.com

โรคช๊อกโกแลตซีส “โรคของผู้หญิงยุคใหม่”

โรคช๊อกโกแลตซีส “โรคของผู้หญิงยุคใหม่”




โรคช๊อกโกแลตซีส “โรคของผู้หญิงยุคใหม่”
       ผู้หญิงหลายท่านอาจเกิดอาการปวดท้องเวลาเป็นประจำเดือน เพราะ Prostaglandin ที่หลั่งออกมาในช่วงเป็นรอบเดือน นอกจากปวดท้องแล้วก็อาจจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนProstaglandin : สารชนิดหนึ่งในร่างกายซึ่งคล้ายฮอร์โมน คือ ต้นเหตุที่ทำให้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน และ เป็นสารชนิดที่ทำให้ผู้หญิงเราเกิดอาการปวดท้องตอนจะคลอดลูก... สารนี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว เพื่อช่วยให้ร่างกายขับประจำเดือนออกมา..... บางท่านอาจเริ่มวิตกกังวลถึงโรคภัยที่ผู้หญิงมักจะกลัว ไม่ว่าจะเป็น เนื้องอก มะเร็ง ผังผืด ที่อาจพบในระบบสืนพันธุ์

        โรคช๊อกโกแลตซีส (Chocolate cyst : one having dark, syrupy contents, resulting from collection of hemosiderin following local)
         คำจำกัดความของโรคช๊อกโกแลตซีส ช๊อกโกแลตซีส หมายถึง ''ถุงน้ำที่มีสารของเหลวสีคล้ายกับช๊อกโกแลตอยู่ภายใน'' ความรุนแรงมากพอสมควร การเรียกตามลักษณะที่เห็นความจริงแล้ว คำเต็มก็คือ..... ''โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ เอ็นโดเมทริโอซิส ''ปกติตัวเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก ควรจะอยู่เฉพาะภายในโพรงมดลูกเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ตัวเยื่อบุโพรงมดลูกนี้กระจายออกนอกตัวโพรงมดลูกไปเกาะอยู่ที่ใดก็ตามก็จะเป็นโรคของตำแหน่งนั้นเกิดขึ้น

        ในปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มากน้อยแค่ไหน โรคนี้พบได้บ่อยขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย เราจะพบมากที่สุดก็คือ พบได้ 10- 20% ในกลุ่มของผู้ที่อยู่ในวัยที่มีประจำเดือน กลุ่มคนลูกยากจะเป็น 30-45% คำว่าผู้ป่วยที่มีลูกยากก็คือ คู่สมรสที่แต่งงานเกิน 1 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เอง
กลไกที่ก่อให้เกิดโรค ---ปัจจุบันนี้เรายังไม่ทราบกลไกที่ทำให้เกิดโรคที่แท้จริง แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อถือคือ ทฤษฎีของแซมซัน จะมีเลือดประจำเดือนส่วนน้อยส่วนหนึ่งไหลกลับเข้าไปในช่องท้อง โดยผ่านท่อรังนำไข่ เลือดประจำเดือนที่ไหลเข้าสู่ช่องท้องก็จะนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกไปด้วย แต่ตำแหน่งของเซลล์นี้ถ้าไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนก็จะทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นในอวัยวะนั้น ส่วนมากเราจะพบมากในบริเวณรังไข่

        นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคอีกหรือไม่ ผู้หญิงปกติทุกคนจะมีการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือน แต่บางคนเป็นโรค, บางคนไม่เป็นโรคขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยง คือ
· มีประวัติครอบครัว โดยเฉพาะทางมารดาหรือว่าพี่สาว, น้องสาวของผู้ป่วย ถ้าเกิดเป็นโรคนี้ตัวผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็นโรคที่สูงขึ้นมากกว่าคนทั่วไป 3-10 เท่า
· กลุ่มผู้ป่วยที่มีการทำงานของรังไข่นาน ๆ รังไข่ทำงานนานในกรณีที่เริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยหรือประจำเดือนรอบสั้น เดือนหนึ่งมีมากกว่า 2 ครั้ง หรือออกมากหรือออกนานมากกว่า 7 วัน
· กลุ่มที่มีความผิดปกติโดยกำเนิด ของทางออกของประจำเดือน กรณีนี้เราจะเจอได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเยื่อพรหมจารีปิด

         ปัจจัยลดความเสี่ยงของโรคอยู่ 3 ปัจจัย คือ
· การตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์หลายครั้งโอกาสเป็นโรคก็จะน้อยลง การตั้งครรภ์ผู้หญิงจะไม่มีภาวะของการมีประจำเดือนไปเป็นเวลา 9-10 เดือน หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ซึ่งยาคุมกำเนิดจะมีฮอร์โมนที่มีชื่อว่า โปเตสเซอโรน
· การออกกำลังกายมาก ๆ โดยเฉพาะการออกกำลังตั้งแต่วัยรุ่นจะต้องออกกำลังกายมากกว่าสัปดาห์ละ 7 ชม. อันนี้จะเป็นการลดฮอร์โมนเอสโตเจน เป็นผลทำให้เกิดโรคน้อยลง
· การสูบบุหรี่ จะทำให้เกิดเอสโตนเจนน้อยลง โอกาสการเกิดโรคก็จะน้อยลง แต่ที่กล่าวมาก็ไม่ ได้หมายความว่าจะสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนต้องสูบบุหรี่

ลักษณะอาการผิดปกติเบื้องต้นเป็นอย่างไร
· คนไข้จะมีอาการปวดประจำเดือนทุกเดือน แต่อาการปวดประจำเดือนก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคนี้ ซึ่งลักษณะอาการปวด คือ มีอาการปวดอย่างรุนแรงและจะปวดมากขึ้นมากขึ้นทุกเดือน เป็นอย่างนี้มากขึ้นไปเรื่อย
· มีอาการเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
· ผู้ป่วยจะมีบุตรยาก

         เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ อาศัยจากประวัติก่อนทำการตรวจร่างกายคนไข้ และจะมีการช่วยวินิจฉัยหลายอย่าง เช่น ....การทำอัลตราซาวด์ ส่องกล้อง ตรวจภายในอุ้งเชิงกราน การเจาะเลือดตรวจทูเมอร์ .... การวินิจฉัยโรค ถ้าเกินเราอัลตราซาวด์แล้วเราเห็นก้อนชัด ๆ ก็จะสามารถบอกได้ทันที แต่ในกลุ่มที่คนไข้ที่มีผลการตรวจคนไข้ไม่ชัดเจน กลุ่มนี้เรามักจะต้องใช้วิธีส่องกล้องตรวจภายในอุ้งเชิงกราน

         วิธีการรักษาในปัจจุบันมีหลายแบบ
· การใช้ยา
· การผ่าตัด
· ใช้ยาร่วมกับการผ่าตัด
จะคำนึงถึงอาการของผู้ป่วย ความต้องการในการมีลูกและความรุนแรงของอาการ การใช้ยารักษา มีอยู่ 2 กลุ่ม ....แพทย์จะต้องให้คนไข้อยู่ในภาวะไม่มีประจำเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือนเข้าไปในช่องท้อง เป็นยาที่ทำให้คนไข้หมดประจำเดือน ---เหมือนคนในวัยทอง ---หรือเหมือนหญิงตั้งครรภ์
ส่วนการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ตัวโรครุนแรง ชนิดที่ 1 การผ่าตัดออกหมด ผลการผ่าตัดทำให้คนไข้หายจากโรค แต่คนไข้ก็จะไม่สามารถมีบุตรได้อีก ชนิดที่ 2 ก็คือ การผ่าตัดเพื่อเอาตำแหน่งของพยาธิสภาพออก ข้อดีของการผ่าตัดนี้ก็คือ ผู้ป่วยสามารถมีบุตรได้อีก แต่ข้อเสียก็คือ ตัวโรคสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก

ผลจากการใช้ยาที่ทำให้คนไข้หมดประจำเดือน จะมีผลแทรกซ้อนอย่างไรเกิดขึ้นบ้าง หลักการจะทำให้คนไข้ไม่มีประจำเดือนประมาณ 6-9 เดือน จริง ๆ เป็นระยะที่สั้น ถ้าใช้ยาทำให้ไม่มีประจำเดือนเหมือนวัยทอง ...จะมีอาการหงุดหงิด ชาปลายมือ ปลายเท้า

จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีกหรือไม่ --- ในกรณีที่เราผ่าตัดเอาเฉพาะพยาธิสภาพออก โดยที่เก็บตัวมดลูกและรังไข่ไว้คนไข้ ก็จะมีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีก
อันตรายของโรคนี้มากน้อยแค่ไหน ในกรณีที่เป็นมาก ๆ คนไข้ก็จะมีพังพืดเกิดขึ้นในอุ้งเชิงกราน ผังพืดที่เกิดขึ้นมีการรัดอวัยวะที่สำคัญหลายอย่าง เพราะฉะนั้นการผ่าตัดจำเป็นต้องอาศัยฝีมือขอศัลยแพทย์ที่ดี พอประจำเดือนมาครั้งต่อไป ตัวโรคก็จะโตขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างนั้นหากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ก้อนช๊อกโกแลตซีสเกิดแตก สารของเหลวที่อยู่ภายในก็จะออกมากระตุ้นเยื่อบุช่องท้อง ทำให้คนไข้มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน

         การป้องกันควรทำอย่างไร
· เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือน ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการตรวจภายใน หรือ มีเพศสัมพันธ์ขณะที่มีประจำเดือน
· ในหญิงกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ เราอาจพิจารณณาให้การป้องกันด้วยการกินยาคุมกำเนิด เริ่มตั้งแต่วัยเริ่มมีประจำเดือนและหยุดยาต่อเมื่อมีบุตร
· ขอแนะนำให้ผู้หญิงที่แต่งงาน ตั้งครรภ์เร็ว ๆ

ข้อแนะนำท่านที่มีอาการผิดปกติดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีบุตรยาก ถ้าเกิดไม่แน่ใจในอาการควรจะได้รับการปรึกษาและการตรวจจากแพทย์โดยเร็ว

โรคเบาหวาน

    


 โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
     อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย สร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ไม่ดี ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีอาการต่างๆของโรคเบาหวาน นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น มีการสลายของสารไขมันและโปรตีนร่วมด้วย
อาการของโรคเบาหวาน

คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มก.% หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม.ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก.% ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงไม่มากอาจจะไม่มีอาการอะไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด อาการที่พบได้บ่อย
  • คนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึกหรือปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืนน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะทำให้น้ำถูกขับออกมากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
  • ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
  • อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา
  • ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่งแต่น้ำหนักจะลดลงเนื่องจากร่างกายน้ำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อ
  • อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน
  • คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง
  • เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสายตา เช่นสายตาสั้น ต่อกระจก น้ำตาลในเลือดสูง
  • ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงนานๆทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก
  • อาเจียน
น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเมื่อเป็นโรคนี้ระยะหนึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับหลอดเลือดเล็กเรียก microvacular หากมีโรคแทรกซ้อนนี้จะทำให้เกิดโรคไต เบาหวานเข้าตา  หากเกิดหลอดเลือดเลือดแดงใหญ่แข็งเรียก macrovascular โดยจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพาต หลอดเลือดแดงที่ขาตีบนอกจากนั้นยังอาจจะเกิดปลายประสาทอักเสบ neuropathic ทำให้เกิดอาการชาขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประสาทอัตโนมัติเสื่อม
ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน
สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่นอน แต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้

  • ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวานควรจะตรวจเลือดแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ
  • อ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่า27% หรือน้ำหนักเกิน20%ของน้ำหนักที่ควรเป็นสำหรับประเทศในเอเซียเราพบว่าเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะพบผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากดังนั้นแนะนำว่าควรจะเจาะเลือดตรวจเบาหวานเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25 
  • อายุมากกว่า45ปี
  • ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT
  • ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg
  • ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%
  • ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
  • ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม
บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรที่จะได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุก3ปี หากคุณเป็นคนที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวการป้องกันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การคุมน้ำหนัก