สไลด์โชว์

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรควูบ ภัยใกล้ตัว

 

     


โรควูบ คือ อาการลมเกือบหมดสติ หรือบางรายหมดสติไป ( Syncope) เป็น ภาวะที่พบได้บ่อย สาเหตุของการเป็นลมเกือบหมดสติหรือหมดสติ มี ได้หลายสาเหตุมากมาย หนึ่งในสาเหตุเหล่านั้น อาจเกิดจากความผิดปกติทางหัวใจได้ ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์กับตนเอง รวมถึงคนใกล้ชิดผู้ป่วยจะเกิดความวิตกกังวล สูญเสียความมั่นใจ เนื่องจากไม่แน่ใจว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดจะเป็นลมหมดสติอีกเมื่อไหร่ ถ้าเกิดขณะ ขับรถ ข้ามถนน หรือขณะเล่นกีฬา จะทำอย่างไร จะฟื้นหรือไม่ จะดูแลในเบื้องต้นอย่าง ไร เรามาทำความรู้จักอาการวูบ หรือหมดสติกันดีกว่าการเป็นลมหมดสติ เกิดขึ้นเมื่อสมองขาดเลือดไปเลี้ยงในระดับรุนแรง ทำให้ศูนย์ควบคุมความรู้สึกตัวเสียการทำงาน ไป 

สาเหตุที่สำคัญ คือ
 
     1. ภาวะตกใจหรือเสียใจรุนแรง
     2. ไอหรือจามแรงมากเกินไป
     3. ขณะยืนถ่ายปัสสาวะ หรือหลังถ่ายปัสสาวะ หลังจากที่กลั้นมานาน
     4. ออกกำลังกายมากเกินไป
     5. หลังอาหารมื้อหนัก
     6. เส้นประสาทสมองที่ 5,9 อักเสบ
     7. เป็นโรคสมองเสื่อมหรือสมองฝ่อ
     8. โรคพาร์คินสันบางราย ที่มีระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติร่วมอยู่ด้วย
     9. โรคเบาหวาน ในรายที่เส้นประสาทโดนทำลายจากเบาหวาน
     10. จากยาบางชนิดเช่น รับประทานยาลดความดันมากเกินไป
     11. ดื่มสุรามากเกินไป
     12. จุดกำเนิดไฟฟ้าของหัวใจเสื่อมสภาพ
     13. เสียเลือดมาก หรือเสียน้ำออกจากร่ายกายมากเกินไป เช่น ท้องร่วงรุนแรง อาเจียนรุนแรง
     14. มีการกระตุ้นในระบบทางเดินอาหาร เช่น ล้วงคอ อาเจียน เบ่งถ่ายอุจจาระ ปวดท้องรุนแรง
     15. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง
     16. ระบบทางเดินไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพหรือผิดปกติ
     17. สาเหตุจากการเสียสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจและหลอดเลือด
     18. ภาวะเสียเลือดจากหัวใจอุดตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง
     19. โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
     20. เนื้องอกในห้องหัวใจ
     21. ลิ้นหัวใจตีบรุนแรง
     22. ภาวะที่มีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจมากและมีการกดการทำงานของหัวใจ
     23. ภาวะเสียเลือดใหญ่ที่ออกจากหัวใจแตก หรือมีการฉีกขาดรุนแรง
     24. มีลิ่มเลือดใหญ่ไปอุดตันเส้นเลือดในปอด
     25. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงมากเกินไป

ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อกำลังจะเป็นลมหมดสติ
      บาง คนก่อนจะเป็นลมหมดสติ จะมีอาการเตือนนำมาก่อน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง อยากถ่าย เหงื่อแตก ตัวเย็น ถ้าเป็นจากโรคหัวใจ อาจมีใจสั่นนำมาก่อน หรืออาจไม่มีอาการเตือนเลยก็ได้ ขณะหมดสติอาจมีอาการเกร็ง กระตุกได้ ให้รีบล้มตัวลงนอนทันที เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น และลดการเกิดการบาดเจ็บ ถ้าขับรถอยู่ ควรจอดทันที แล้วปรับที่นั่งให้อยู่ในท่านอนราบถ้าอยู่ในรถโดยสารควรหาที่นั่ง/นอนในรถ แจ้งคนรอบข้างว่ากำลังจะเป็นลม ไม่ควรรีบลงจากรถ เพราะอาจหมดสติตรงทางลงทำให้เกิดอันตรายได้

ที่มา:http://www.phuketbulletin.co.th/Lifestyle/view.php?id=176

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคนิ้วล็อก เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

โรค นิ้วล็อก หรือโรคนิ้วเหนี่ยวไกปืน (Trigger Finger) เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคน นิ้ว มีอาการเหยียดนิ้วบางนิ้วไม่ออกเหมือนโดนล็อก แต่กำมืองอนิ้วได้ เกิดขึ้นกับนิ้วใดก็ได้ มีโอกาสเป็นได้ทุกนิ้ว ผู้ป่วยบางคนอาจเป็น 2-3 นิ้วพร้อมกัน นอกจากนี้ยังมีอาการเจ็บนิ้วเวลางอนิ้ว กำมือ หรือเหยียดนิ้วไม่สุด ส่วนใหญ่มีอาการรุนแรงตอนตื่นนอนตอนเช้าหรืออากาศเย็น มักพบบ่อย ๆ ในผู้หญิง
               image001

สาเหตุของโรคนิ้วล็อก

เกิดจากการใช้งานของมืออย่างรุนแรง ในการบีบกำ หิ้วของหนัก ๆ ซ้ำ ๆ จนปลอกหุ้มเอ็นบวม หดรัด ขาดความยืดหยุ่น เป็นผลให้เส้นเอ็นเคลื่อนตัวผ่านปลอกเอ็นไม่สะดวก

อาการของโรคนิ้วล็อก

เริ่มต้นเจ็บบริเวณฐานนิ้ว ขยับนิ้วมือเจ็บ การงอและการเหยียดนิ้วฝืด สะดุด จนเกิดอาการล็อก เหยียดนิ้วไม่ออก หรืองอนิ้วไม่เข้า นิ้วแข็งบวมชา นิ้วเกยกัน กำมือไม่ลง นิ้วโก่งงอ หากไม่ได้รับการรักษา นิ้วข้างเคียงก็จะยึดติดแข็ง ใช้งานไม่ได้ ซึ่งเปรียบเสมือนมือพิการ

ใครมีโอกาสเป็นโรคนิ้วล็อก

ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เกิดในผู้หญิงกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่บ้านที่ใช้มือ ทำงานหนัก เช่น หิ้วถุงพลาสติกหนัก ๆ หิ้วตะกร้า จ่ายกับข้าว ช็อปปิ้ง หิ้วถังน้ำ บิดผ้า เป็นต้น
ในผู้ชายมักจะพบในอาชีพที่ต้องใช้มือทำงานหนัก ๆ ซ้ำ ๆ เช่น คนทำสวนใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ใช้จอบเสียม มีดฟันต้นไม้ ช่างใช้ไขควง สว่าน หิ้วยกของหนักเป็นประจำ เช่น คนขายแก๊ส คนส่งน้ำ หรือกระบะผลไม้ และมักพบบ่อยในคนที่ตีกอล์ฟรุนแรง

การรักษา

1. การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
ถ้าผู้ป่วยมีอาการยังไม่มากใช้วิธีการรักษาโดยไม่ผ่าตัดอันประกอบด้วย
  • การรับประทานยาเพื่อลดการอักเสบของเส้นเอ็น โดยทั่วไปให้รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดและบวมของเส้นเอ็น ได้แก่ การแช่พาราฟิน การทำอัลตราซาวน์ ร่วมกับการออกกำลังเพื่อยืดเส้นเอ็นนั้น
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าในเยื่อหุ้มเส้นเอ็นบริเวณตำแหน่งที่เป็น ซึ่งจะลดการอักเสบได้ดีแต่ไม่ควรทำมากกว่า 3 - 4 ครั้งต่อปี เพราะอาจทำให้เส้นเอ็นขาดได้
2. การรักษาโดยการผ่าตัด
ทำในรายที่เป็นมานานๆ และการรักษาโดยไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล โดยการตัดห่วงรอกที่เส้นเอ็นลอดผ่านออกไป
การดูแลตนเอง
หากมีอาการเจ็บตรงโคนนิ้วมือ เวลางอนิ้วมือแล้ว เหยียดนิ้วมีเสียงดังกิ๊ก หรือเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้น เองไม่ได้ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อพบว่าเป็นโรคนิ้วล็อก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง และควรปฏิบัติดังนี้
  • ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่เป็นนิ้วล็อกเล่น อาจทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากขึ้นได้
  • ถ้ามีอาการข้อฝืด กำไม่ถนัดตอนเช้า ควรแช่น้ำอุ่นจัดๆ และบริหารโดยการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น
  • เมื่อ ต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น ไม้กอล์ฟ ตะหลิวผัดกับข้าว ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำพันรอบๆ หรือใช้ถุงมือจับจะช่วยลดแรงกดหรือเสียดสีลง

โรคนิ้วล็อกในระยะรุนแรง

อาการยึดติดที่รุนแรง หรือนิ้วติดล็อก การฉีดยาก็จะไม่เกิดประโยชน์ จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด การรักษาโรคนิ้วล็อกที่เป็นรุนแรง การผ่าตัดรักษาเป็นการรักษาตัวต้นเหตุของโรค การเจาะรักษาผ่านทางผิวหนังเป็นวิธีที่สะดวก ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย เพียงใช้เครื่องมืออุดฟันมาดัดแปลงกลึงปลายให้แหลมคมเป็นพร้าเล็ก ๆ เจาะผ่านผิวหนังเพื่อไปตัดเข็มขัดรัดเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ขวางการ เคลื่อนที่ของเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นวิ่งผ่านไปผ่านมาได้ ทำให้นิ้วมือกำเหยียดได้โดยปรกติภายในเวลา 5 นาทีโดยไม่เสียเลือด
อย่างไรก็ตาม โรคนิ้วล็อก หรือโรคเหนี่ยวไกปืน เป็นโรคที่ใกล้ตัวเราเป็นอย่างมาก ดังนั้นจำเป็นที่เราจะต้องระมัดระวังในเรื่องดังกล่าว แต่ถ้าหากเป็นแล้วก็ควรที่จะรีบเข้ารับการรักษาไม่ให้ลุกลามไปมากกว่าเดิม

การป้องกัน

หลีกเลี่ยงการใช้มือทำงานที่มีลักษณะทำให้เกิดแรงกดหรือเสียดสีกับเส้นเอ็นแบบซ้ำซาก
  • การหิ้วของหนักๆ เช่น ถุงหนักๆ ถังแก๊ส ถังน้ำ กระเป๋า (ควรใช้รถเข็นลาก หรือใส่ถุงมือ)
  • การซักผ้า บิดผ้า (ควรใช้เครื่องซักผ้าแทน)
  • เวลา กำหรือจับอุปกรณ์ต่างๆ ควรใส่ถุงมือลดแรงกดหรือเสียดสี เช่น ใส่ถุงมือเวลาจับไม้ตีกอล์ฟ กรรไกรตัดกิ่งไม้ มีดตัดต้นไม่หรือดายหญ้า

โรคกระเพาะ ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ







                                               
โรคกระเพาะ คือ โรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อกระเพาะอาหาร คนที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรัง หรือเป็นนานๆ ถ้าไม่รักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็นๆ หายๆ และถ้าปล่อยให้เป็นมาก จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

1. เกิดจากเชื้อ เอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร มันจะอยู่ภายในกระเพาะอาหารของผู้ติดเชื้อไปตลอดชีวิต โดยจะอยู่บริเวณด้านล่างของกระเพาะอาหาร เชื้อนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในกระเพาะอาหาร ทำให้กรดถูกขับออกมามากขึ้น จนเกิดการอักเสบที่เยื่อบุกระเพาะ นำไปสู่การเกิดแผลเลือดออกในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนบน

2. กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก
     - กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์
     - การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
     - ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
     - การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
     - การกินอาหารไม่เป็นเวลา


                                           

อาการของโรคกระเพาะ

1. ปวดท้อง ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ
     - 
ปวดเรื้อรังมานาน เป็นๆ หายๆ เป็นเดือนหรือเป็นปี
     - 
ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือนมจะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือปวดกลางดึกก็ได้

2. 
จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน

3. 
อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่ 
     - 
อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
     - 
ปวดท้องรุนแรง และ ช๊อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ
     - 
ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหารการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคกระเพาะ
1. กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง หรือหิว ถ้าหิวก่อนเวลาให้ดื่มนม หรือน้ำเต้าหู้ น้ำข้าว น้ำผลไม่ได้
2. 
หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด จากน้ำสมสายชู
3. 
งดดื่มเหล้า เบียร์ กาแฟ ยาดอง
4. 
งดการสูบบุหรี่
5. 
หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวด แก้ไข ที่มีแอสไพริน หรือยาชุดต่างๆ รวมทั้งยาแก้ปวดกระดูก และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอน ยาหม้อต่างๆ
6. 
ควรพักผ่อนให้มากเพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบานผ่อนคลายเครียดวิตกกังวล และไม่หงุดอารมณ์เสียง่าย
7. 
กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ากินยาแล้วอาการดีขึ้น ต้องกินยาติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ ไม่ควรหยุดยาก่อน เพราะอาการปวดท้องจะกำเริบได้อีก
8. 
ควรออกกำลังกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป
9. 
อย่าซื้อยากินเอง มีโรคอื่นควรปรึกษาแพทย์

ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์



 1. ปวดท้องทันที ปวดเหมือนถูกมีดบาด ขยับตัวหรือหายใจแรงๆจะทำให้ปวดเพิ่มมากขึ้น และปวดไม่หาย ซึ่งอาจจะเกิดจากกระเพาะอาหารทะลุ
 2. อุจาระดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด เนื่องจากเลือดออกทางเดินอาหาร
3. แน่นท้องอาเจียนบ่อย เป็นอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งอาจจะเกิดจากลำไส้อุดตัน
ที่มา:http://www.yimdai.com/

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคใกล้ตัวคุณที่ควรป้องกันเอาไว้

  


  กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบบ่อยในสตรี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-50 ปี ทั้งนี้เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและอยู่ใกล้กับทวารหนัก เชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนัก (ซึ่งปกติมีอยู่จำนวนมาก) จึงมีโอกาสสูงที่เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการฟักตัวและอักเสบได้ในสตรีเจริญพันธุ์ การมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะในระยะแต่งงานกันใหม่ๆ ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย ทำให้เกิดอาการอักเสบที่เรียกว่า Honey Moon Cystitis
          
                                   



 อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการ ดังนี้
  1. ปัสสาวะบ่อย แต่ละครั้งจำนวนน้อย และกลั้นไม่ได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำ
  2. แสบในท่อปัสสาวะ ปวดเสียดตอนถ่ายสุดๆ
  3. ตึง ปวดถ่วง บริเวณท้องน้อย
  4. ปัสสาวะมีกลิ่นผิดปกติ
  5. ปัสสาวะมีเลือดปน
การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
                วินิจฉัยได้ง่ายๆ โดยมีอาการดังกล่าวข้างต้นร่วมกับการตรวจปัสสาวะ โดยให้ถ่ายปัสสาวะในช่วงแรกทิ้งไปก่อนแล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงถัดมาเพื่อ ทำการตรวจจะพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ในบางรายที่เป็นเรื้อรังอาจจำเป็นต้องเก็บปัสสาวะไปเพาะเชื้อเพื่อให้ทราบถึงแบคทีเรียนั้นด้วย
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
                1.รับประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการมาก ต้องรับประทานยาในระยะเวลาที่นานขึ้น คือประมาณ 7-10 วัน
                2.ผู้ที่มีอาการอักเสบได้ง่าย เช่น หลังมีเพศสัมพันธ์ อาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการอักเสบ
การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
              1.หมั่นรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด ท่อปัสสาวะและทวารหนัก
              2.บางครั้งแบคทีเรียเมื่อหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแล้ว ต้องใช้เวลาในการฟักตัวของเชื้อ ซึ่งการดื่มน้ำมากขึ้นจะสามารถขับแบคทีเรียออกมาได้
              3.ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้เป็นระยะเวลานานๆ เพราะการกลั้นปัสสาวะนานเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้เชื้อแบคทีเรียมีระยะฟักตัวในกระเพาะปัสสาวะนานขึ้นยิ่งทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย
              4.ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบบ่อยๆ เรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุแอบแฝงอื่นๆ เช่น นิ่ว กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาทควบคุม หรือมีอาการอุดตันในกระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบมีผลร้ายแรงหรือไม่?
              การรักษาให้หายขาดจะไม่มีผลร้ายแรง ส่วนรายที่ไม่หายขาดนั้น เชื้อแบคทีเรียบางชนิดอาจมีผลทำให้การอักเสบลุกลามไปถึงส่วนใดก็จะทำให้เกิดการอักเสบได้ ดังนั้นหลังรับประทานยาครบแล้ว จึงควรตรวจปัสสาวะ

โรคหวัด น่ากลัวกว่าที่คิด

                                     


จัดอันดับไข้หวัดยอดฮิตนายแพทย์ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยาอธิบายว่า ไข้หวัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ไข้หวัดธรรมดา (Cold) และไข้หวัดใหญ่ (Influenza)ซึ่งทั้งสองชนิดมีเชื้อไวรัสตัวการก่อโรคแตกต่างกันไป

ทางด้านคุณหมอวราลักษณ์เสริมว่าในโรคไข้หวัดใหญ่ยังมีการจำแนกสายพันธุ์ต้นตอที่ต่างกันอีกด้วย และมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

จากการพูดคุยกับคุณหมอทั้งสองสามารถแบ่งประเภทไข้หวัดตาม ที่มา อาการและความอันตรายของโรคหวัดเป็น 4 ชนิดดังนี้ค่ะ

1. ไข้หวัดธรรมดา (Cold) เกิดจากเชื้อ Rhinovirus และแบคทีเรียบางประเภทที่อาศัยอยู่ในร่างกายคนและมีคนเป็นพาหะ ติดต่อโดยการได้รับเชื้อที่แพร่กระจายจากการหายใจ การไอ หรือสัมผัสเสมหะหรือสารคัดหลั่งต่างๆของผู้ป่วย

อาการ มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล อาการป่วยจะหายเองภายใน 3-7 วัน 

ความรุนแรง ปกติอาการจะไม่รุนแรงเพราะร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาปกป้อง ยกเว้นมีการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งส่วนใหญ่เชื้อจะอยู่ที่คอ ทำให้มีอาการเจ็บคอ คอแดง ต่อมทอนซิลโต และแบคทีเรียบางชนิดอาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ 

เมื่อไรต้องพบแพทย์ หากกินยาลดไข้และพักผ่อน 2-3 วันแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงขึ้นเช่น ไออย่างรุนแรง เจ็บหน้าอก ซึม เพลีย ให้รีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาอาการแทรกซ้อน

2. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza กลุ่ม A และ B ซึ่งมีความรุนแรงกว่าเชื้อไข้หวัดธรรมดาเพราะเชื้อจะเข้าสู่ระบบกล้ามเนื้อและอาจลามเข้าไปทำให้เป็นโรคปอดบวม มีการติดต่อเช่นเดียวกันกับไข้หวัดธรรมดา

อาการ มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาแต่จะรุนแรงกว่าและมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดแขนขา ปวดตามข้อ อ่อนเพลียฉับพลัน และปวดศีรษะอย่างรุนแรง

ความรุนแรง ผู้ที่มีอาการรุนแรงส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลในกลุ่มเสี่ยงคือ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว และอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้หลายชนิดเช่น อาการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และปอดบวม

เมื่อไรต้องพบแพทย์ หากมีไข้สูง หายใจหอบ ผิวมีสีม่วง เจ็บหรือแน่นหน้าอก หรือมีอาการของไข้หวัดใหญ่มานานกว่า 7 วัน ให้สงสัยว่าอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน ควรรีบไปพบคุณหมอทันที

3. ไข้หวัดนก (avian influenza) เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H5N1 ซึ่งมีอยู่ในลำไส้และระบบทางเดินหายใจของสัตว์ปีก เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายออกมากับอุจจาระ น้ำมูก สิ่งคัดหลั่งอื่นๆของสัตว์ และติดต่อสู่คนจากการได้รับเชื้อโดยการสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย และสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของอุจจาระ น้ำมูก และสิ่งคัดหลั่งอื่นๆของสัตว์ปีกเช่นกัน

อาการ มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่แต่จะรุนแรงกว่า เช่น มีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก ไอ เหนื่อย ปวดท้องและถ่ายเหลว

ความรุนแรง มีความรุนแรงมากหากได้รับการรักษาช้า เชื้อจะเข้าไปทำลายอวัยวะสำคัญต่างๆเช่นหัวใจ ไต ตับ ไขกระดูก ระบบหายใจและต่อมน้ำเหลือง นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อไวรัสสามารถขยายพันธุ์ในปอดและลำไส้ของคนได้ด้วย

เมื่อไรต้องพบแพทย์ หากมีอาการข้างต้นหลังจากสัมผัสสัตว์ปีกหรือเข้าไปในพื้นที่ที่สงสัยว่ามีการระบาดหรือสงสัยว่ากินเนื้อไก่และไข่ไก่ที่ปรุงไม่สุก

4. ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 (swine influenza) เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1N1 ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น เชื้อชนิดนี้ถือเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด ที่มีการผสมสายพันธุ์ระหว่างไวรัสที่อาศัยอยู่ในคน นก และหมู ทำให้มีการเพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว เพราะคนยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนี้และไม่มีวัคซีนป้องกัน

อาการ อาการใกล้เคียงกับอาการโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ แต่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียร่วมด้วย 

ความรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 90-95  มีอาการไม่รุนแรงจะหายป่วยได้เอง โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ผู้มีความเสี่ยงได้แก่ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ที่ภูมิต้านทานต่ำ ผู้ที่มีภาวะอ้วน และหญิงมีครรภ์ 

เมื่อไรต้องพบแพทย์ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น มีไข้สูง หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียน ท้องเสีย มีอาการซึม หรือ ไข้ยังไม่ลดหลังจากรับประทานยาลดไข้แล้ว 48 ชั่วโมงผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หากป่วยเป็นไข้ ไม่ว่าจะมีอาการน้อยหรือมากต้องรีบพบแพทย์
 จับตาด"ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่ ล้วนเป็นไข้หวัดที่ยังคงมีแนวโน้มการระบาดเกิดขึ้นในประเทศไทยอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังที่นายแพทย์ภาสกรกล่าวไว้ว่า

"สำหรับไข้หวัดธรรมดา ย่อมมีการระบาดเรื่อยๆตามฤดูกาลอยู่แล้ว โดยกลุ่มเสี่ยง คือกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งอาจระบาดได้ในสถานเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียน แต่สำหรับวัยผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ทุกคนจะมีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสตัวนี้อยู่แล้ว จึงไม่น่าเป็นห่วง"

"ส่วนไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ที่มีเชื้อ Influenza virus เป็นตัวก่อโรคก็เช่นกัน ยังคงมีการระบาดตามฤดูกาล และจากสถิติพบว่า คนทั่วไปประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ จะมีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสตัวนี้แล้ว แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ อาการทั่วไปของไข้หวัดใหญ่มักเป็นอาการที่กว้าง และป่วยเป็นเวลานาน จนบางคนอาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่ทำให้ให้อาการหนักลงได้"

"ขณะเดียวกันก็ไม่ควรประมาทไข้หวัดสายพันธุ์อื่นๆที่อาจกลับมาระบาดใหม่อีกครั้งพร้อมทั้งเตรียมรับมือโรคอุบัติใหม่ที่เกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ ที่มีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อกันง่ายขึ้น เนื่องจากในอนาคตผู้คนจะมาอยู่รวมตัวกันในเมืองใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ จึงเลี่ยงการแพร่เชื้อในที่ชุมนุมชนได้ยาก"


สร้างภูมิชีวิต พิชิตไข้หวัด

สำหรับผู้ที่ดูแลตัวเองตามแนวทางชีวจิตซึ่งแทบจะไม่ป่วยเป็นหวัดเลย เพราะมีภูมิชีวิตดี อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูชีวจิต อธิบายว่า

"อาการของไข้หวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปวดเมื่อยเนื้อตัว น้ำมูกไหล หรือไอ จะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ Immune System หรือภูมิชีวิตของแต่ละคน ถ้าภูมิชีวิตของคนไข้ตกมาเป็นระยะเวลานาน จนถึงจุดที่ว่าไม่ว่าเชื้อโรคโรคอะไรก็ตามที่ทำให้คนไข้มีอาการติดเชื้อได้ อาการทุกอย่างก็จะโจมตีมาพร้อมๆกัน จนกระทั่งดูเหมือนคนไข้อาการหนัก (Trauma) กำลังถึงแก่ชีวิตได้"

"แต่ถ้าภูมิชีวิตของเขาดีอยู่ การติดเชื้อก็จะมีแค่อาการครั่นเนื้อครั่นตัว และอ่อนเพลียเล็กน้อย ถ้าได้พักสัก 2-3 วัน อาการเจ็บป่วยเขาก็จะหายไป ดังนั้น ถ้าภูมิชีวิตของคุณสมบูรณ์แข็งแรงดี ไม่เพียงแต่ไข้หวัดที่จะหลีกไกลคุณเท่านั้น ภูมิชีวิตนี้ยังป้องกันการติดต่อของโรคติดต่ออื่นๆได้ด้วย"

อาจารย์สาทิสแนะนำวิธีแก้อาการโรคหวัดแบบชีวจิตว่าให้เพิ่มภูมิชีวิตตามสูตร 5 เล็กอย่างเคร่งครัด คือ กินให้ถูก นอนให้ถูก ทำงานให้ถูก พักผ่อนให้ถูก และออกกำลังกายให้ถูก  ทั้งยังบอกวิธีแก้อาการโรคหวัดเบื้องต้นตามตำรับยาพื้นบ้านด้วย

                                                        

ข้อควรรู้เรื่องหวัด หวัดแพทย์หญิงวราลักษณ์ ตังคณะกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข อธิบายถึงความแตกต่างของโรคไข้หวัดกับโรคภูมิแพ้และโรคหัด ว่า "วิธีสังเกตความต่างก็คือโรคหัดจะมีอาการไข้ หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นตามตัว ส่วนโรคภูมิแพ้จะมีอาการเหมือนไข้หวัด 4 อย่างคือ น้ำมูกไหล ไอ จาม แต่ไม่มีไข้"กินยอดสดฟ้าทะลายโจรครั้งละหนึ่งยอดก่อนอาหาร 3 มื้อ หรืออย่างเม็ด 3 เม็ดก่อนอาหาร 3 มื้อ
  • กินวิตามินซี 1,000 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ วิตามินเอ 10,000 I.U ครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ และวิตามินบี คอมเพล็กซ์ 100 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ดก่อนอาหาร 3 มื้อ
  • กินแคลเซียม 100 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด เช้า-เย็นหลังอาหาร วิตามินดี 10,000 I.U ครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหารเช้า-เย็น
  • ทำดีท็อกซ์ทุกวัน 2 อาทิตย์
  • ผสมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะกับน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันจิบตลอดวันแก้ไอ
หากทำตามนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ทย์ที่โรงพยา
ทีบาล่muที่มา::http://variety.thaiza.com

โรคใกล้ตัวของสมอง




  1. โรคความจำเสื่อม ถือเป็นโรคที่ใกล้ตัวของผ้สูงอายุเป็นอย่างมาก และนอกจาก่อให้เกิดปัญหาการหลงลืมต่างๆได้ง่ายแล้ว บางกรณียังเกิดผลข้างเคียง เช่น อาการคลุ้มคลั่งเป็นบางขณะ หรืออาการหลอน คิดไปเองต่างๆนานา ซึงภาวะเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตทั้งของผู้เป็นเอง และคนรอบข้างด้วย
  2. โรคสมองเสื่อม (DEMENTIA )ซึ่งจะประกอบไปด้วยกลุ่มอาการต่างๆ ที่เกิดจากการที่สมองเสื่อมลง อาการที่พบได้บ่อย คือ ในด้านที่เกี่ยวกับความจำ ุ การใช้ความคิด และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ยังพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพร่วมด้วยได้ เช่น หงุดหงิดง่าย ุ เฉื่อยชา หรือเมินเฉย เป็นต้น ซึ่งโรคสมองเสื่อมนั้นมีสาเหตุเกิดได้จากหลายสาเหตุ โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) นั้นเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ที่สุด คือ ประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม ส่วนโรคสมองเสื่อมจากเส้นเลือดในสมอง ( Vascular dementia ) นั้น เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยรองลงมา นอกจากนี้สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมที่พบได้ คือ โรค Parkinson , Frontal Lobe Dementia , จาก alcohol และจาก AIDS เป็นต้น
    • ข้อแนะนำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด และหมั่นฝึกสมองอย่างสม่ำเสมอ
  3. โรคปลายประสาทอักเสบ (Polyneuritis / Peripheral neuropathy) เกิดจากความผิดปกติของประสาทส่วนปลาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นพร้อมกันหลายส่วน ทำให้ส่วนปลายของแขนขามีอาการชา และอ่อนแรง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจเกิดจากการขาดสารอาหาร จากพิษของยา พิษของสารเคมี โรคติดเชื้อ โรคเอสแอลดี หรือมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งส่วนมากมักมีอาการชา ปวดแสบปวดร้อน ตามปลายมือปลายเท้าในเวลากลางคืน หรือเวลาสัมผัสถูก ถ้าเป็นมากอาจเป็นอัมพาต
    • ข้อแนะนำผู้ป่วยที่เป็นโรคปลายประสาทอักเสบ ควรระมัดระวังการเกิดบาดแผลที่ปลายมือปลายเท้า และควรรับประทานวิตามินบีรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามิน บี 1, 6 , 12 จะทำให้อาการชาปลายมือปลายเท้าบรรเทาลงได้
  4. โรคเหน็บชาเป็นโรคอย่างหนึ่งที่ผู้ป่วยมีอาการเข่าอ่อน ท้อง แขน และขาบวม และในบางกรณีผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย สาเหตุที่เกิดโรคเหน็บชานั้น เกิดจากการขาดวิตามินบี 1 หรือ Thiamine ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายและสมองนั่นเอง
    • ข้อแนะนำ ผู้ที่เป็นโรคเหน็บชา ให้รับประทานวิตามินบี 1 เป็นประจำจะสามารถบรรเทาอาการเหน็บชาได้
ที่มา: http://www.nutramedica.co.th/health-knowledge-th/health-tips-th

โรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่นคือเป็นโรคติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงโรคนี้ี่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria meningitidis เชื้อตัวนี้แบ่งออกเป็น 13 กลุ่มแต่กลุ่มที่ทำให้เกิดโรคได้บ่อยคือชนิด groups B and C เชื้อนี้สามารถตรวจพบในคอของคนปกติร้อยละ 20โดยที่ไม่เกิดโรคหรืออาการ แต่มีผู้ป่วยบางท่านที่เชื้อนี้เข้ากระแสเลือดและทำให้เกิดโรค โดยมากเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและช่วงอายุ 15-24 ปี เป็นโรคที่พบไม่บ่อยแต่อันตรายถึงชีวิตอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5-10 แม้ว่าจะให้การรักษาอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม 


                                      



การติดเชื้อมีได้ 3 ลักษณะคือ
1.การติดเชื้อธรรมดา
2เยื่อหุ้มสมองอักเสบ meningitis อัตราการเสียชีวิตร้อยละ3
3.โลหิตเป็นพิษ meningococcemia อัตราการเสียชีวิตร้อยละ50
นอกจากเยื่อหุ้มสมองแล้ว เชื้อนี้ยังสามารถทำให้เกิดโรคที่ ข้อ ปอดบวม

การติดต่อ

มีการสัมผัสกับผู้ป่วยทาง
+เยื่อเมือกในปากและจมูก เช่นการจูบ การเป่าปากและจมูก หรือหน้าใกล้ชิดกันเป็นเวลานาน
+เสมหะหรือน้ำลายผู้ป่าวย
เชื้อนี้จะติดต่อทางน้ำลายหรือเสมหะโดยการสูบบุหรี่ร่วมกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน จูบปากกัน หรือผายปอดช่วยชีวิต
ระยะฝักตัวของโรค
ระยะฝักตัว(ระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อโรคจนกระทั่งเกิดอาการของโรค)ประมาณ3-4 วันโดยเฉลี่ย 1-10 วัน
ระยะติดต่อ
เชื้อนี้สามารถติดต่อไปสู่คนอื่นตราบที่ยังพบเชื้อนี้อยู่ แต่หลังจากให้ยา 24 ชั่วโมงแล้วจะไม่ติดต่อ
อาการ 
อาการที่พบในเด็ก
  • ไข้สูง
  • ไม่ดูดนม
  • อาเจียน
  • เด็กจะซึม ปลุกไม่ตื่น
  • ผื่นตามตัวและแขนขา
  • ผิวซีด เป็นรอยจ้ำๆ
อาการที่พบในเด็กวัยรุ่น
  • ไข้สูง
  • ปวดศรีษะ
  • อาเจียน
  • คอแข็ง
  • ซึมลง
  • ผื่นตามแขนขา
  • ทนแสงจ้าๆไม่ได้
อาการของชนิดโลหิตเป็นพิษ
  • ไข้สูง
  • หมดสติ
  • ความดันต่ำ
  • ผื่นตามตัว
โดยสรุปอาการประกอบด้วย ไข้สูง ปวดศีรษะ คอแข็ง ผื่นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง  ผื่นจะมีลักษณะ เป็นจุดแดง หรือดำคล้ำ บางที่เป็นตุ้มน้ำซึ่งมีเชื้ออยู่ภายในเนื่องจากโรคดำเนินเร็วมาก หากมีอาการดังกล่าวตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปโดยเฉพาะผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน
การตรวจร่างกาย
  • ไข้สูงโดยเฉลี่ย 39.5 องศา
  • ผื่นตามลำตัวแขน ขา
  • ในรายที่มีอาการรุนแรงผื่นอาจจะรวมตัวเป็นปลื้น
  • ความดำโลหิตต่ำในรายที่เป็นรุนแรง
  • ตรวจพบคอแข็ง
การวินิจฉัย
  • การตรวจเลือด CBC จะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูง
  • การตรวจน้ำไขสันหลัง จะพบเซลล์ในน้ำไขสันหลังสูง
  • การตรวจหาเชื้อจากเลือด เช่นการเพาะเชื้อ หรือการย้อมเชื้อจากตุ่มน้ำ หรือเลือด
ภาวะแทรกซ้อน
  •  หูหนวก พบได้ร้อยระ 10-20
  • โรคลมชัก
  • ข้ออักเสบ พบได้บ่อยมักเป็นหลายๆข้อ
  • ปอดอักเสบ
การรักษา
ในรายที่สงสัยควรรีบให้การรักษาโดยเร็วไม่ควรรอจนเกิดผื่น ยาที่ใช้คือ penicilli
  • penicillin G
  • Ceftriaxone, cefotaxime, and cefuroxime are cephalosporins
  • chloramphenicol, rifampin, erythromycin, and tetracyclines.
  • ciprofloxacin
การป้องกัน
การให้ยาป้องกันการติดเชื้อควรจะให้กับคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากผู้ป่วยเท่านั้น ยาที่ใช้ในการป้องกันได้แก่
  • Sulfonamides,
  • rifampin,
  • minocycline,
  • ciprofloxacin,
  • ceftriaxone
การให้ยาป้องกันการติดต่อควรจะให้ในกลุ่มบุคคลใด
  • สมาชิกในครอบครัวของผู้ที่ติดเชื้อในช่วง 7 วันก่อนเกิดอาการของโรค เพราะอัตราการติดเชื้อของสมาชิกเพิ่มขึ้น มากกว่า100 เท่า
  • day care
  • nursing home
  • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ต้องสัมผัสกับเสมหะผู้ป่วย เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะ
  • วัคซีนป้องกันโรค และยาปฏิชีวนะสำหรับผู้สัมผัสโร