สไลด์โชว์

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่นคือเป็นโรคติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงโรคนี้ี่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria meningitidis เชื้อตัวนี้แบ่งออกเป็น 13 กลุ่มแต่กลุ่มที่ทำให้เกิดโรคได้บ่อยคือชนิด groups B and C เชื้อนี้สามารถตรวจพบในคอของคนปกติร้อยละ 20โดยที่ไม่เกิดโรคหรืออาการ แต่มีผู้ป่วยบางท่านที่เชื้อนี้เข้ากระแสเลือดและทำให้เกิดโรค โดยมากเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและช่วงอายุ 15-24 ปี เป็นโรคที่พบไม่บ่อยแต่อันตรายถึงชีวิตอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5-10 แม้ว่าจะให้การรักษาอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม 


                                      



การติดเชื้อมีได้ 3 ลักษณะคือ
1.การติดเชื้อธรรมดา
2เยื่อหุ้มสมองอักเสบ meningitis อัตราการเสียชีวิตร้อยละ3
3.โลหิตเป็นพิษ meningococcemia อัตราการเสียชีวิตร้อยละ50
นอกจากเยื่อหุ้มสมองแล้ว เชื้อนี้ยังสามารถทำให้เกิดโรคที่ ข้อ ปอดบวม

การติดต่อ

มีการสัมผัสกับผู้ป่วยทาง
+เยื่อเมือกในปากและจมูก เช่นการจูบ การเป่าปากและจมูก หรือหน้าใกล้ชิดกันเป็นเวลานาน
+เสมหะหรือน้ำลายผู้ป่าวย
เชื้อนี้จะติดต่อทางน้ำลายหรือเสมหะโดยการสูบบุหรี่ร่วมกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน จูบปากกัน หรือผายปอดช่วยชีวิต
ระยะฝักตัวของโรค
ระยะฝักตัว(ระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อโรคจนกระทั่งเกิดอาการของโรค)ประมาณ3-4 วันโดยเฉลี่ย 1-10 วัน
ระยะติดต่อ
เชื้อนี้สามารถติดต่อไปสู่คนอื่นตราบที่ยังพบเชื้อนี้อยู่ แต่หลังจากให้ยา 24 ชั่วโมงแล้วจะไม่ติดต่อ
อาการ 
อาการที่พบในเด็ก
  • ไข้สูง
  • ไม่ดูดนม
  • อาเจียน
  • เด็กจะซึม ปลุกไม่ตื่น
  • ผื่นตามตัวและแขนขา
  • ผิวซีด เป็นรอยจ้ำๆ
อาการที่พบในเด็กวัยรุ่น
  • ไข้สูง
  • ปวดศรีษะ
  • อาเจียน
  • คอแข็ง
  • ซึมลง
  • ผื่นตามแขนขา
  • ทนแสงจ้าๆไม่ได้
อาการของชนิดโลหิตเป็นพิษ
  • ไข้สูง
  • หมดสติ
  • ความดันต่ำ
  • ผื่นตามตัว
โดยสรุปอาการประกอบด้วย ไข้สูง ปวดศีรษะ คอแข็ง ผื่นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง  ผื่นจะมีลักษณะ เป็นจุดแดง หรือดำคล้ำ บางที่เป็นตุ้มน้ำซึ่งมีเชื้ออยู่ภายในเนื่องจากโรคดำเนินเร็วมาก หากมีอาการดังกล่าวตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปโดยเฉพาะผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน
การตรวจร่างกาย
  • ไข้สูงโดยเฉลี่ย 39.5 องศา
  • ผื่นตามลำตัวแขน ขา
  • ในรายที่มีอาการรุนแรงผื่นอาจจะรวมตัวเป็นปลื้น
  • ความดำโลหิตต่ำในรายที่เป็นรุนแรง
  • ตรวจพบคอแข็ง
การวินิจฉัย
  • การตรวจเลือด CBC จะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูง
  • การตรวจน้ำไขสันหลัง จะพบเซลล์ในน้ำไขสันหลังสูง
  • การตรวจหาเชื้อจากเลือด เช่นการเพาะเชื้อ หรือการย้อมเชื้อจากตุ่มน้ำ หรือเลือด
ภาวะแทรกซ้อน
  •  หูหนวก พบได้ร้อยระ 10-20
  • โรคลมชัก
  • ข้ออักเสบ พบได้บ่อยมักเป็นหลายๆข้อ
  • ปอดอักเสบ
การรักษา
ในรายที่สงสัยควรรีบให้การรักษาโดยเร็วไม่ควรรอจนเกิดผื่น ยาที่ใช้คือ penicilli
  • penicillin G
  • Ceftriaxone, cefotaxime, and cefuroxime are cephalosporins
  • chloramphenicol, rifampin, erythromycin, and tetracyclines.
  • ciprofloxacin
การป้องกัน
การให้ยาป้องกันการติดเชื้อควรจะให้กับคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากผู้ป่วยเท่านั้น ยาที่ใช้ในการป้องกันได้แก่
  • Sulfonamides,
  • rifampin,
  • minocycline,
  • ciprofloxacin,
  • ceftriaxone
การให้ยาป้องกันการติดต่อควรจะให้ในกลุ่มบุคคลใด
  • สมาชิกในครอบครัวของผู้ที่ติดเชื้อในช่วง 7 วันก่อนเกิดอาการของโรค เพราะอัตราการติดเชื้อของสมาชิกเพิ่มขึ้น มากกว่า100 เท่า
  • day care
  • nursing home
  • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ต้องสัมผัสกับเสมหะผู้ป่วย เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะ
  • วัคซีนป้องกันโรค และยาปฏิชีวนะสำหรับผู้สัมผัสโร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น